มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - แม้ตายก็ไม่ทิ้งธรรม
คืนนั้น มีนายพรานคนหนึ่งเห็นท่าน คิดว่าเป็นเนื้อ พุ่งหอกออกไป หอกได้ปักทะลุอก ครั้นนายพรานเห็นว่าเป็นพระ ก็ตกใจรีบเข้าไปหา พระเถระตั้งสติใจไม่เคลื่อนจากฐานที่ตั้งของใจ ท่านขอให้นายพรานชักหอกออก แล้วเอาเกลียวหญ้าอุดปากแผลไว้ แม้เลือดจะไหลไม่หยุด แต่สภาวะใจของท่านยังคงสงบนิ่งไม่กระเพื่อม ท่านตั้งใจมั่นว่าจะเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แม้ตายจะไม่ทิ้งธรรม
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ตบะธรรมชนะกิเลส
ท้าวสักกะทรงดำริว่า “ดาบสนี้มีอานุภาพมากจะทำให้เราเคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจะต้องร่วมมือกับพระเจ้าพาราณสี ทำลายตบะของดาบสนั้นให้ได้” ครั้นเวลาเที่ยงคืน จึงเสด็จไปยังห้องบรรทมของพระเจ้าพาราณสี แสดงอานุภาพของท้าวสักกะ พลางตรัสกับพระราชาว่า
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - สนทนาอย่างบัณฑิต
"ดูก่อนมหาบพิตร ถ้ามหาบพิตรจักสนทนาตามเยี่ยงอย่างบัณฑิต อาตมภาพก็พร้อมจะสนทนากับมหาบพิตร แต่ถ้ามหาบพิตรจักสนทนาตามเยี่ยงอย่างของพระราชา อาตมาก็จักไม่สนทนาด้วย" พระยามิลินท์ตรัสถามว่า “บัณฑิตทั้งหลายสนทนากันอย่างไร”
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ไม่ควรประมาทในชีวิต
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พลางทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ว่า ทำไมอายุของมนุษย์ในแต่ละยุคแต่ละสมัย มีความสั้นยาว ไม่เท่ากัน บาง ยุคมนุษย์มีอายุตั้ง ๘๐,๐๐๐ ปี และทำไมบางยุค อายุของมนุษย์สั้นเหลือเพียง ๑๐ ปี พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต จะนิยมลงมาอุบัติในโลกมนุษย์ ในยุคที่มนุษย์มีอายุยืนยาวสักเท่าใด
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ผู้ไม่ประมาทย่อมถึงบรมสุข
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ตาม ล้วนมีความไม่เที่ยง แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมโทรมทุกอนุวินาที และในที่สุดต้องแตกดับสลายไป มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วก็ต้องตาย แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเลิศกว่าใครในภพสาม ยังต้องทิ้งพระวรกายของพระองค์ไว้ในโลก และดับขันธปรินิพพาน
มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ - อย่าทอดทิ้งกัน
คนใกล้ชิดของท่านเศรษฐีมักปรารภให้ฟังว่า อย่าเลี้ยงนายกาฬกรรณีไว้เลย เพราะชื่อของเขาไม่เป็นมงคล และยังเป็นคนยากไร้ ไม่มีศักดิ์ศรีเสมอท่านเศรษฐี จะเลี้ยงคนๆ นี้ไว้ทำไม ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ไม่ได้สนใจ กลับตอบว่า บัณฑิต ย่อมไม่ถือมงคลจากชื่อเสียงเรียงนาม เพียงแค่ชื่อที่ไม่เป็นมงคล ถึงกับจะให้ทอดทิ้งเพื่อนที่คบกันมาตั้งแต่เด็กนั้น เราทำไม่ได้ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ชีวิตเหลือน้อยนิด อย่าคิดเรื่องไร้สาระ
ดวงบุญนี้เป็นต้นเหตุแห่งความสุขและความสำเร็จ เมื่อเราปรารถนาสิ่งใด ให้อธิษฐานจิตในกลางดวงบุญนั้น ซึ่งเป็นทางมาแห่งมหาสมบัติทั้งหลาย ทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มรรคผลนิพพาน ซ้อนอยู่ในกลางดวงบุญนั้น บางคนสายสมบัติโต บางคนเล็ก บางคนก็ริบหรี่ ตามแต่กำลังบุญที่ได้สั่งสมมา ดวงบุญนี้จะดึงดูดสมบัติหยาบในเมืองมนุษย์ ให้เราได้ใช้สร้างบารมีอย่างไม่รู้จักหมดสิ้น เมื่อปรารถนาในสิ่งที่ดี ย่อมจะสมปรารถนาได้ ดังนั้น เราจึงต้องสั่งสมบุญกันให้มากๆ อย่าให้ขาดแม้แต่วันเดียว
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - เวลาอันทรงคุณค่ายิ่ง
มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า “เอสุการี” พระองค์มีปุโรหิตเป็นสหายรักตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ทั้งพระราชาและปุโรหิตต่างไม่มีพระโอรสที่จะสืบสกุล วันหนึ่ง พระราชาและปุโรหิตปรึกษาหารือกันว่า ถ้าหากบุตรของใครเกิดก่อน บุตรของคนนั้นจะได้ครอบครองราชสมบัติ
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - สั่งสมปัญญาบารมี
ความรู้ในพระไตรปิฎกนั้น ยิ่งศึกษายิ่งแตกฉาน ทำให้เราเข้าใจและรู้หนทางไปสู่อายตนนิพพานเพิ่มมากขึ้น เสมือนได้นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระบรมศาสดา กาย วาจา ใจ ของเราจะบริสุทธิ์เกลี้ยงเกลาตามพระองค์ไปด้วย ในตอนนี้จะได้อธิบายเกี่ยวกับหมวดพุทธวจนะ ในพระไตรปิฎก
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๑ )
ชายคนหนึ่งชื่อ มหาทุคตะ เพราะความเป็นผู้ยากจนมาก ยากจนกว่าใครทั้งหมดในเมือง บางวันเขาและภรรยาต้องไปขออาหารเหลือเดน ที่ชาวบ้านจะเททิ้งมากินประทังชีวิต แม้มหาทุคตะจะจนทรัพย์แต่ไม่อับจนปัญญา ในวันนั้นบุญเก่าตามมาทัน ส่งผลให้เกิดปัญญา เขาคิดว่า "ที่เราอดอยาก ยากจนอยู่ทุกวันนี้ เพราะความตระหนี่ของเราแท้ๆ ดังนั้น วันนี้ เราจะต้องทำบุญใหญ่ให้ได้"