มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - มหาทานบารมีแห่งยุค
สมัยนั้น อังกุรเทพบุตรซึ่งเคยนั่งอยู่ด้านหน้า ต้องถอยร่น ไปตามกำลังบุญ นั่งอยู่ไกลถึง ๑๒ โยชน์ ส่วนอินทกเทพบุตรนั่งอยู่ที่เดิมใกล้ๆ กับพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามอังกุรเทพบุตรว่า "อังกุระ เธอทำแถวเตาไฟยาว ๑๒ โยชน์ ได้ให้ทานเป็นอันมากในกาลประมาณหมื่นปี บัดนี้เธอนั่งอยู่ไกลตั้ง ๑๒ โยชน์ ซึ่งไกลกว่าเทพบุตรทั้งหมด ไฉนเธอจึงนั่งอยู่ไกลนัก"
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ทาน คือ ชีวิต
อย่างไรก็ตาม ตายเร็วตายช้าก็ไม่ได้เป็นเครื่องวัดความมีโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ต้องดูตัดสินขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าได้สั่งสมบุญกุศลใดบ้าง และมองไหลไปถึงชีวิตหลังความตายได้ว่า ตายแล้วไปไหน มีสุคติหรือทุคติเป็นที่ไป เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว ต้องไม่ประมาทในวัยและชีวิต ด้วยการหมั่นหาโอกาสสั่งสมบุญให้มากที่สุด ก่อนที่ความตายจะมาถึง
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ก่อเวรเพราะวาทกรรม
ในโลกนี้ สิ่งที่จะบั่นทอนกำลังใจของคนเราได้มากคือคำพูด คำพูดที่ตัดกำลังใจหรือกดใจผู้ฟังให้ต่ำลง ทำให้ผู้ฟังรู้สึกระคายหู ก่อให้เกิดความไม่พอใจความขุ่นมัวโกรธเคือง และยังเป็นวาทกรรมที่ก่อเวร ทำให้ผูกพยาบาทจองเวรกันอีกด้วย ซึ่งการผูกโกรธผูกพยาบาท จะทำให้ใจกระสับกระส่ายไม่เป็นสมาธิ นอกจากนี้หน้าตาก็ยังเศร้าหมองไม่ผ่องใส ไม่น่าเข้าใกล้ ใครๆ ต่างถอยห่างไม่อยากจะคบหาสมาคมด้วย
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สารธรรมของชีวิต
มนุษย์ทุกคนที่เกิดมา ต่างแสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงสำหรับชีวิต แต่เนื่องจากปัญญาและวิจารณญาณที่แตกต่างกัน ทำให้มีการแสวงหากันไปต่างๆ นานา พบทั้งสิ่งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ยิ่งถ้าขาดกัลยาณมิตร ก็เหมือนกับคนเดินทางในที่มืด
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - ใจที่เลื่อมใสปิดอบายภูมิ
ในยุคนั้น พระสุสัญญกเถระบังเกิดในตระกูลมีชื่อเสียงตระกูลหนึ่ง เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ที่ตรัสให้เห็นภัยในวัฏสงสาร และอานิสงส์ของการทำใจให้เลื่อมใส ท่านเกิดศรัทธาอย่างยิ่งจึงคิดว่า เวลาชีวิตของมนุษย์นี้ ประเดี๋ยว ก็วันประเดี๋ยวก็คืน ควรที่เราจะรู้จักจับแง่คิดในการเอาบุญ รู้จักระวังไม่ให้อกุศลบังเกิดขึ้นในใจ ตั้งแต่นั้นมา ท่านตั้งใจสำรวมระวังตลอดเวลา ไม่ให้อกุศลทั้งหลายเข้ามาในใจของตน
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ไม่ควรดูหมิ่นบุญ
ขึ้นชื่อว่าบุญ อันใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย บุคคลถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าเล็กน้อย เพราะว่าบุคคลผู้ฉลาดในการทำบุญ ย่อมเต็มเปี่ยมไปด้วยบุญโดยลำดับ เปรียบเหมือนภาชนะที่เปิดฝา ย่อมเต็มไปด้วยน้ำ ฉะนั้น
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - ผู้อยู่้ใกล้พระรัตนตรัย
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอกราบนิมนต์พระองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เพื่อฉันภัตตาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น ด้วยสัญญาณของหม่อมฉันนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเถิดว่า พระองค์เป็นผู้อันหม่อมฉันนิมนต์ไว้แล้ว"
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ผลแห่งการฟังธรรม
การบรรลุธรรมต้องอาศัยการสั่งสมความ รู้ คู่กับความบริสุทธิ์ ซึ่งเราจะบริสุทธิ์ได้ด้วยใจที่หยุดนิ่ง และลงมือปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง เมื่อปฏิบัติถูกส่วนก็จะเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย ดังนั้นการฟังธรรมแม้จะเป็นบทเดิมๆ แต่ธรรมะทุกบทสามารถขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ และจะเป็นพลวปัจจัยส่งเสริมให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - สละชีวิตเพื่อฟังธรรม
พระฤๅษีจึงตอบว่า ถ้าเรายังดำรงอยู่ในราชสมบัติ เราจะบูชาธรรมท่านด้วยทรัพย์สมบัติ แก้วแหวนเงินทองเป็นอันมาก และจะยกราชสมบัติทั้งหมดพร้อมด้วยเศวตฉัตรให้ท่าน แต่บัดนี้เราเป็นนักบวชเหลือแต่เพียงร่างกาย และผ้าคลุมกายนี้เท่านั้น เรามีชีวิตเลือดเนื้อเป็นสมบัติ ถ้าหากท่านปรารถนา เราจะบูชาธรรมด้วยชีวิตนี้แหละ
มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล - อย่าคบคนพาล
ผู้มีปัญญา ไม่พึงคบคนชั่วเป็นมิตร ไม่พึงคบบุรุษผู้ต่ำทราม พึงคบหากัลยาณมิตร พึงคบบุรุษผู้สูงสุด เราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ต่างปรารถนาความสุขความเจริญ ปรารถนาให้สิ่งที่ดีงามที่เป็นมงคลเกิดขึ้นแก่ชีวิตของตนด้วยกันทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า สิ่งที่เป็นมงคล คือ การบำเพ็ญบุญ อันจะเป็นเครื่องสนับสนุนให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์